ประวัติวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์
เลขที่ 322 ถนนจิระ ตาบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31000 โทร 0-4461-1079, Fax 0-4461-1472 มีเนื้อที่ 32 ไร่ 2 งาน ห่างจากศาลากลางหลังเก่า จังหวัด 0.5 กม.
เขตติดต่อ
ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
บริเวณภายในสถานศึกษา
จดที่ดินและบ้านพักอาศัยของเอกชน
ติดถนนจิระ และตรงข้ามเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ติดโรงเรียนเทศบาล 1 ติดสำนักงานสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์
เป็นคอนกรีตทั้งหมด กว้าง 5.50 เมตร ยาว 9.00 เมตร
ประวัติการจัดตั้ง
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนช่างไม้บุรีรัมย์ เมื่อ พ.ศ. 2481 รับนักเรียนจบชั้นประถม ปีที่ 4 เข้าเรียนวิชาช่างไม้เบื้องต้น หลักสูตร 3 ปี
พุทธศักราช 2504
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนช่างไม้บุรีรัมย์ เป็นโรงเรียนการช่างบุรีรัมย์
และอนุมัติให้เปิดหลักสูตรอาชีวศึกษาชั้นสูง ประเภทช่างก่อสร้าง หลักสูตร 3 ปีต่อจาก ม.ศ. 3 และในปี พุทธศักราช 2513 ก็ได้ประกาศรวมโรงเรียนการช่างสตรีและโรงเรียนการช่างเดิมเป็นโรงเรียนเดียวกันเรียก “โรงเรียนการช่างบุรีรัมย์” และเปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง สาขาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาคหกรรมและ อนุมัติให้เปิดสอนสาขาช่างยนต์ ระดับปวช. ช่างยนต์
พุทธศักราช 2519
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศยกฐานะโรงเรียนการช่างบุรีรัมย์เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาบุรีรัมย์
พุทธศักราช 2520
กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขาวิชาการบัญชีและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาคหกรรม
พุทธศักราช 2522
กระทรวงศึกษาธิการประกาศยกฐานะวิทยาลัยอาชีวศึกษาเป็น “วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์” และ อนุมัติให้เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากาลัง และสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
พุทธศักราช 2524
กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้สถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาเริ่มทำการสอนตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2524 โดยรับนักเรียนที่จบ ม.3 และ ม.ศ.3 เข้าเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) ในปีเดียวกันรวมทั้งสิ้น 10 แผนก และกำหนดให้เปิดรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
พุทธศักราช 2532
เปิดระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากาลังรับผู้สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากาลัง
พุทธศักราช 2535
เปิดระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างยนต์ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ช่างยนต์
พุทธศักราช 2536
เปิดระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์รับผู้สำเร็จ การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างกลโรงงานและ สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะแผ่น
พุทธศักราช 2537
เปิดระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการตลาด รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พณิชยการกลุ่มวิชาการขาย
พุทธศักราช 2538
เปิดระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเลขานุการรับ ผู้สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พณิชยการ และรับนักศึกษาระบบทวิภาคี
พุทธศักราช 2539
ขยายการรับนักศึกษา แผนกพาณิชยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยเปิดรับ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) จบหลักสูตรรุ่นสุดท้าย
พุทธศักราช 2540
เปิดระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม และสาขาวิชา ผ้าและเครื่องแต่งกาย โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และงดรับนักศึกษาใน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)
พุทธศักราช 2540
กรมอาชีวศึกษามีนโยบายให้สถานศึกษารับนักศึกษาเพิ่ม นอกจากรับนักศึกษาในระดับอื่นเพิ่ม แล้ววิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ได้เปิดรับ นักเรียนที่จบชั้น ม.6 เข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี 2 ประเภทวิชาคือ
1. ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม เปิดรับสมัคร 4 สาขาวิชา
1.1 สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
1.2 สาขาวิชาช่างโยธา
1.3 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง (สาขางานเครื่องวัดอุตสาหกรรม)
1.4 สาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะ (สาขางานเทคนิควิศวกรรมการเชื่อม)
2. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ เปิดรับสมัคร 1 สาขาวิชา คือ สาขาการบัญชี นอกจากนี้ยังเปิดรับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคสมทบ รับผู้สำเร็จการศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ม.6 โดยเปิดรับสาขาวิชาช่างโยธา และสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
พุทธศักราช 2541
เปิดรับระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคสมทบ สาขาวิชาช่างโยธา ซึ่งรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ม.6 และรับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระบบทวิภาคี แผนกวิชาช่างยนต์
พุทธศักราช 2544
เปิดรับระดับ ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม ซึ่งรับ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
พุทธศักราช 2545
โครงการพัฒนาครู-อาจารย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาช่างไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเครื่องกล และสาขาวิชาช่างโยธา โดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.)
พุทธศักราช 2547
เปิดรับระดับ ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม ซึ่งรับผู้สาเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ และปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งรับ ผู้สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาไฟฟ้ากำลัง
พุทธศักราช 2548
จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีขั้นสูง อาเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์โดยความร่วมมือระหว่าง สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด บุรีรัมย์ และอาชีวศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคนิคศึกษา โดยความร่วมมือกับคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พุทธศักราช 2549
ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) ด้านการอาชีวศึกษา
พุทธศักราช 2552
ได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทานระดับอาชีวศึกษา
พุทธศักราช 2557
เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและ ได้เปิด วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ (ศูนย์การเรียนอำเภอประโคนชัย)
พุทธศักราช 2558
เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์, สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์, สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน และได้เปิด วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ (วก.ลำปลายมาศ)
พุทธศักราช 2559
ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นสถานศึกษารางวัลสถานศึกษาพระราชทานระดับ อาชีวศึกษา ขนาดใหญ่ ประจาปีการศึกษา 2559
(ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2562)
ตราสัญลักษณ์
วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์